วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การโคท

ยูนิโคด (อังกฤษ: Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความตัวอักษรที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) [1]
ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์
ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2)


 รุ่นยูนิโคด


รุ่นวันที่หนังสือความสอดคล้องกับ
ชุดอักขระสากล
(ISO/IEC 10646)
ชุดอักษรอักขระ
จำนวนการเพิ่มเติมที่สำคัญ
1.0.0ตุลาคม พ.ศ. 2534ISBN 0-201-56788-1 (Vol.1)247,161เริ่มต้นด้วยอักษรเหล่านี้: อาหรับ, อาร์เมเนีย, เบงกาลี, ปอพอมอฟอ, ซีริลลิก, เทวนาครี, จอร์เจีย, กรีกและคอปติก, คุชราต, คุรมุขี, ฮันกึล, ฮีบรู, ฮิระงะนะ, กันนาดา, คะตะคะนะ, ลาว, ละติน, มาลายาลัม, โอริยา, ทมิฬ, เตลูกู, ไทย, และทิเบต [2]
1.0.1มิถุนายน พ.ศ. 2535ISBN 0-201-60845-6 (Vol.2)2528,359เริ่มมีอักษรภาพรวมจีนญี่ปุ่นเกาหลี (CJK Unified Ideographs) 20,902 ตัว [3]
1.1มิถุนายน พ.ศ. 2536ISO/IEC 10646-1:19932434,233เพิ่มพยางค์ฮันกึลลงไปอีก 4,306 ตัว จากชุดเดิม 2,350 ตัว และอักษรทิเบตถูกเอาออก [4]
2.0กรกฎาคม พ.ศ. 2539ISBN 0-201-48345-9ISO/IEC 10646-1:1993 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 5, 6, 72538,950พยางค์ฮันกึลชุดเดิมถูกเอาออก แล้วเพิ่มพยางค์ฮันกึลชุดใหม่ 11,619 ตัวในตำแหน่งใหม่ อักษรทิเบตเพิ่มกลับเข้ามาที่ตำแหน่งใหม่พร้อมกับเปลี่ยนแปลงอักขระบางตัว กลไกอักขระทดแทน (surrogate) ได้ถูกนิยามขึ้น และมีการกำหนดให้เพลน 15 และเพลน 16 เป็นพื้นที่ใช้งานส่วนตัว (Private Use Areas) [5]
2.1พฤษภาคม พ.ศ. 2541ISO/IEC 10646-1:1993 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 5, 6, 7 และอักขระสองตัวจากข้อแก้ไขที่ 182538,952เครื่องหมายยูโรถูกเพิ่มเข้ามา [6]
3.0กันยายน พ.ศ. 2542ISBN 0-201-61633-5ISO/IEC 10646-1:20003849,259เชอโรกี, เอธิโอเปีย, เขมร, มองโกเลีย, พม่า, โอคัม, รูนส์, สิงหล, ซีเรียค, ทานา, Unified Canadian Aboriginal Syllabics, และอี้ เพิ่มเข้ามา เช่นเดียวกับรูปแบบอักษรเบรลล์ [7]
3.1มีนาคม พ.ศ. 2544ISO/IEC 10646-1:2000 ISO/IEC 10646-2:20014194,205เดเซเรท, โกธิก, และอิตาลีโบราณ เพิ่มเข้ามา พร้อมกับสัญลักษณ์ทางดนตรีสมัยใหม่และดนตรีไบแซนไทน์ และเพิ่มอักษรภาพรวมจีนญี่ปุ่นเกาหลีอีก 42,711 ตัว [8]
3.2มีนาคม พ.ศ. 2545ISO/IEC 10646-1:2000 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 1 ISO/IEC 10646-2:20014595,221เพิ่มอักษรที่ใช้ในฟิลิปปินส์: บูฮิด, ฮานูโนโอ, บายบายิน, และตักบันวา [9]
4.0เมษายน พ.ศ. 2546ISBN 0-321-18578-1ISO/IEC 10646:20035296,447ไซเปรียท, ลิมบู, ไลเนียร์บี, ออสมันยา, ชาเวียน, ไทไต้คง, และยูการิติก เพิ่มเข้ามาพร้อมกับแผนภูมิหกชั้นของอี้จิง [10]
4.1มีนาคม พ.ศ. 2548ISO/IEC 10646:2003 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 15997,720ลนตารา, กลาโกลิติก, ขโรษฐี, ไทลื้อใหม่, Old Persian, สิเลฏินาครี, และทิฟินาค เพิ่มเข้ามา, และคอปติกในรูปแบบที่ต่างจากอักษรกรีก เลขกรีกโบราณและสัญลักษณ์ทางดนตรีเพิ่มเข้ามาด้วย [11]
5.0กรกฎาคม พ.ศ. 2549ISBN 0-321-48091-0ISO/IEC 10646:2003 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 1, 2, และอักขระสี่ตัวจากข้อแก้ไขที่ 36499,089บาหลี, คูนิฟอร์ม, อึนโก, พักส์-ปา, และฟินิเชีย เพิ่มเข้ามา [12]
5.1เมษายน พ.ศ. 2551ISO/IEC 10646:2003 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 1, 2, 3, 475100,713คาเรีย, จาม, กะยา, เลปชา, ไลเซีย, ไลเดีย, Ol Chiki, เรยัง, ศารทา, ซุนดา, และไว เพิ่มเข้ามา เช่นเดียวกับกลุ่มสัญลักษณ์ Phaistos Disc, หน้าไพ่นกกระจอก, และหน้าโดมิโน เพิ่มเติมอักษรที่สำคัญสำหรับอักษรพม่า, additions of letters and Scribal abbreviations used in medieval manuscripts, and the addition of capital ß.[13]
5.2ตุลาคม พ.ศ. 2552ISO/IEC 10646:2003 เพิ่มข้อแก้ไขที่ 1, 2, 3, 4, 5, 690107,361อเวสตะ, บามุม, ไฮโรกลิฟฟิก (the Gardiner Set, comprising 1,071 characters), Imperial Aramaic, Inscriptional Pahlavi, Inscriptional Parthian, ชวา, ไกถิ, ลีสู่, ไมไตมาเยก, Old South Arabian, Old Turkic, Samaritan, ไทธรรม and ไทเวียด added. เพิ่มอักษรภาพรวมจีนญี่ปุ่นเกาหลีอีก 4,149 ตัว (CJK-C), เช่นเดียวกับจาโมส่วนขยายของอักษรฮันกึลโบราณ, และอักขระสำหรับอักษรพระเวท [14]
6.0ตุลาคม พ.ศ. 2553ISO/IEC 10646:2010 เพิ่มเครื่องหมายสกุลเงินรูปีอินเดีย93109,449บาตัก, พราหมี, มันดาอิก, สัญลักษณ์หน้าไพ่ป๊อก, สัญลักษณ์จราจรและแผนที่, สัญลักษณ์การเล่นแร่แปรธาตุ, อีโมติคอน และอีโมจิ[15]

 ข้อจำกัดและปัญหา

มีการวิจารณ์ยูนิโคดเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิค และข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ยูนิโคดได้กลายเป็นวิธีการเข้ารหัสที่ใช้กันมากที่สุดในการทำให้ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการใช้ได้หลายภาษาพร้อม ๆ กัน
ระบบปฏิบัติการตระกูลวินโดวส์ ได้แก่วินโดวส์เอ็นที, วินโดวส์ 2000 และ วินโดวส์เอกซ์พี ใช้รหัสยูนิโคดแบบ UTF-16 ในการเข้ารหัสข้อความ ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับยูนิกซ์ เช่น GNU/Linux BSD และ Mac OS X ก็ได้นำยูนิโคดแบบ UTF-8 มาใช้ เป็นพื้นฐานของการแทนข้อความที่มีหลายภาษา
การรองรับภาษาไทยในยูนิโคด ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากว่าลำดับเรียงตัวอักษรนั้นไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นเพราะว่ายูนิโคดในส่วนภาษาไทยได้อ้างอิงรูปแบบเดิมจาก Thai Industry Standard 620 (TIS-620) ที่มีปัญหานี้เช่นกัน จึงทำให้การเทียบเรียงลำดับยูนิโคดยุ่งยากขึ้น

การ Set Bios

การเข้าสู่ BIOS Setup Mode
          สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของ
แต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS
ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS
จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้า
ไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ
เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่อง
จะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter
BIOS Setup" เป็นต้น 

วิธีการ Clear/Reset Password ของ BIOS
          โดยปกติแล้ว หากคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คนเดียว ก็คงไม่มีความจำเป็นต้องตั้ง Password สำหรับ
เข้าไป Setup BIOS หรือเปิดเครื่อง แต่ถ้าหากได้เคยตั้งไว้แล้วลืม หรือได้เมนบอร์ดมาโดยที่มีการตั้ง
Password ไว้และไม่รู้ว่าใช้ Password อะไร ก็มีวิธีการที่จะ Reset หรือ Clere Password
ซึ่งอาจจะต้องลองหลาย ๆ วิธีดูนะครับเท่าที่ผมได้รวบรวมมาดังนี้

          1. ลองใช้ Password แบบ Case Sensitive คือแบบที่น่าจะเป็น

          2. ทำการ Reset โดยการ Clear CMOS ดังนี้
มองหา jumper สำหรับ Reset CMOS ก่อนโดยดูจากคู่มือ หรืออาจจะมองหา jumper ใกล้ ๆ กับแบตเตอรี่ของ CMOS ก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น jumper 3 ขา
วิธีการ Reset คือทำการ jump ให้ตรงข้ามกับปกติ คือถ้าหากเดิมมีการ jump อยู่ที่ 1-2 ก็เปลี่ยนมาเป็น 2-3 หรือถ้าปกติ jump อยู่ที่ 2-3 อยู่แล้วก็เปลี่ยนเป็น 1-2
จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทิ้งไว้สัก 5-10 วินาที ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
เปลี่ยน jumper กลับมาที่เดิม Password จะถูก Reset


        3. ทำการถอดแบตเตอรี่ของ CMOS ออก
             ถ้าหากไม่สามารถหา jumper สำหรับ Reset CMOS ได้อาจจะมีอีกวิธี คือทำการถอดแบตเตอรี่ของ
CMOS ออกสัก 5 นาทีแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ จะเป็นการตั้งค่าทุกอย่างของ BIOS กลับไปเป็น Default ได้
แต่เมนบอร์ดบางรุ่น จะยังมี Password อยู่โดยจะเป็น Default Password ตามด้านบนนะครับ
หลังจากใส่แบตเตอรี่แล้วก็ถ้ายังถาม Password อีกให้ลองใส่ Default Password ข้างบนดู


ความหมายต่างๆของ bios



            โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ใน BIOS บ่อยนัก ยกเว้นเมื่อเรา ต้องการเปลี่ยนแปลง การตั้งค่าต่าง ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยน อุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น CPU, RAM หรือ Hard Disk เป็นต้น

การเข้าสู่ BIOS Setup Mode
          สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของ
แต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS
ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS
จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้า
ไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ
เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่อง
จะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter
BIOS Setup" เป็นต้น 

วิธีการ Clear/Reset Password ของ BIOS
          โดยปกติแล้ว หากคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คนเดียว ก็คงไม่มีความจำเป็นต้องตั้ง Password สำหรับ
เข้าไป Setup BIOS หรือเปิดเครื่อง แต่ถ้าหากได้เคยตั้งไว้แล้วลืม หรือได้เมนบอร์ดมาโดยที่มีการตั้ง
Password ไว้และไม่รู้ว่าใช้ Password อะไร ก็มีวิธีการที่จะ Reset หรือ Clere Password
ซึ่งอาจจะต้องลองหลาย ๆ วิธีดูนะครับเท่าที่ผมได้รวบรวมมาดังนี้

          1. ลองใช้ Password แบบ Case Sensitive คือแบบที่น่าจะเป็น

          2. ทำการ Reset โดยการ Clear CMOS ดังนี้
มองหา jumper สำหรับ Reset CMOS ก่อนโดยดูจากคู่มือ หรืออาจจะมองหา jumper ใกล้ ๆ กับแบตเตอรี่ของ CMOS ก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น jumper 3 ขา
วิธีการ Reset คือทำการ jump ให้ตรงข้ามกับปกติ คือถ้าหากเดิมมีการ jump อยู่ที่ 1-2 ก็เปลี่ยนมาเป็น 2-3 หรือถ้าปกติ jump อยู่ที่ 2-3 อยู่แล้วก็เปลี่ยนเป็น 1-2
จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทิ้งไว้สัก 5-10 วินาที ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
เปลี่ยน jumper กลับมาที่เดิม Password จะถูก Reset


         3. ทำการถอดแบตเตอรี่ของ CMOS ออก
             ถ้าหากไม่สามารถหา jumper สำหรับ Reset CMOS ได้อาจจะมีอีกวิธี คือทำการถอดแบตเตอรี่ของ
CMOS ออกสัก 5 นาทีแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ จะเป็นการตั้งค่าทุกอย่างของ BIOS กลับไปเป็น Default ได้
แต่เมนบอร์ดบางรุ่น จะยังมี Password อยู่โดยจะเป็น Default Password ตามด้านบนนะครับ
หลังจากใส่แบตเตอรี่แล้วก็ถ้ายังถาม Password อีกให้ลองใส่ Default Password ข้างบนดู

การ Set BIOS

สำหรับตัวอย่างต่อไปนี้นำมาให้ดูแบบทั่ว ๆ ไปของ BIOS ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน เริ่มจากหลังจากที่กด DEL หรือ Key อื่น ๆ ขณะเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ BIOS Setup Mode โดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นการตั้งค่าครั้งแรก หลังจากที่ทำการ
Reset CMOS แล้ว ก็เลือกที่เมนู Load BIOS Default Setup หรือ Load BIOS
Optimal-performance เพื่อเลือกการตั้งค่าแบบกลาง ๆ ของอุปกรณ์ทั่วไปก่อน
จากนั้นจึงมาทำการเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ละค่า ตามเมนูต่อไปนี้เลยครับ




Standard CMOS Setup

Date และ Time ใส่ วันที่ และ เวลา ปัจจุบัน
Hard Disk กำหนดขนาดของ HDD (Hard Disk) ว่ามีขนาดเท่าไร โดยเลือกตั้งค่าเอง แบบ User, แบบอัตโนมัติ Auto หรือไม่ได้ติดตั้งก็เลือกที่ None
Primary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Master (1 IDE จะต่อ HDD หรือ CD-ROM ได้ 2 ตัว)
Primary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Slave
Secondary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Master
Secondary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Slave
         ซึ่งจะต้องกำหนด Cyls (cylinders) Heads, Sectors และ Mode สำหรับ Mode มีดังนี้
         - Auto BIOS จะทำการตรวจสอบและตั้ง Mode ของ HDD อัตโนมัติ
            - Normal สำหรับ HDD ที่มี clys,heads,sectors ไม่เกิน 1024,16,63 หรือขนาดไม่เกิน 528M.
            - Large สำหรับ HDD ที่มี cyls มากกว่า 1024 แต่ไม่ support LBA Mode
            - LBA Logical Block Addressing สำหรับ HDD ใหม่ ๆ จะมีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า
          (สำหรับ HDD ถ้าหากทราบค่าที่แน่นอนให้ใส่เป็น User แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ตั้ง Auto ไว้)
Drive A: B: ชนิดของ Diskette Drives ที่ติดตั้งใช้งาน 360K, 720K, 1.2M หรือ 1.44M
Video ชนิดของจอแสดงภาพ (ปกติจะเป็น EGA/VGA)
Halt On กำหนดการ Stop หากพบ Error ขณะที่ POST (Power-On Seft Test)
          - All errors การ POST จะหยุดและแสดง prompts ให้เลือกการทำงานต่อไปทุก Error
          - All, But Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error
          - All, But Disk การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Diskette Drive Error
          - All, But Disk/Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error หรือ Diskette
Base Memory โดยปกติจะเป็น 640K สำหรับ DOS
Extended คือ Memory ในส่วนที่สูงกว่า 1M ขึ้นไป
Other Memory หมายถึงส่วนของระหว่าง 640K ถึง 1M


 BIOS Features Setup

Virus Warning การเตือนเมื่อมีการเขียนข้อมูลทับ Boot Record ของ HDD [Enabled]
CPU Int / Ext cache การใช้งาน CPU Internal / External Cache [Enabled]
Quick Power On Seft Test การทำ POST แบบเร็ว [Enabled]
Boot Sequence เลือกลำดับของการบูทเช่นจาก C:, A: หรือ IDE-0, IDE-1 [C: A:]
Swap Floppy Disk กำหนดการสลับตำแหน่ง Drive A: เป็น Drive B: [Disabled]
Boot Up Floppy Seek การตรวจสอบชนิดของ Disk Drive ว่าเป็นแบบใด [Disabled]
Boot Up NumLock Status กำหนดการทำงานของ Key NumLock หลังจากเปิดเครื่อง [Disabled]
Boot Up System Speed กำหนดความเร็ว CPU หลังจากเปิดเครื่อง [High]
Gate A20 Option การเข้าถึง Address memory ส่วนที่สูงกว่า 1M [Fast]
Typematic Rate Setting กำหนดความเร็วของการกด Key [Enabled]
Typematic Rate (Chars/Sec) กำหนดความเร็วของการกด Key [6]
Typematic Delay (Msec) กำหนดค่า delay ของการกด Key [250]
Security Option กำหนดการตั้งรหัสผ่านของการ Setup BIOS หรือ System [Setup]
PS/2 Mouse Control กำหนดการใช้งาน PS/2 Mouse [Disabled]
PCI/VGA Palette Snoop แก้ปัญหาการเพี้ยนของสีเมื่อใช้การ์ดวีดีโออื่น ๆ ร่วมด้วย [Disabled]
Assign IRQ for VGA กำหนดการใช้ IRQ ให้กับการ์ดจอ [Enabled]
OS Select for DRAM > 64M การกำหนดหน่วยความจำสำหรับ OS2 [Non-OS]
HDD S.M.A.R.T capability Self-Monitering Analysis and Reporting Technology [Enabled]
Video BIOS Shadow กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดแสดงผล C0000-C4000 [Enabled]
Adapter ROM กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดที่เสียบเพิ่มเติม
C8000 ใช้กับการ์ดแสดงผลชนิด MDA (จอเขียว)
CC000 ใช้กับการ์ด controller บางประเภท [Disabled]
D0000 ใช้กับการ์ด LAN [ถ้าไม่ใช้ตั้ง Disabled]
D4000 ใช้กับ controller สำหรับ Disk Drive ชนิดพิเศษ [Disabled]
D8000 ตั้ง [Disable]
DC000 ตั้ง [Disable]
E0000 ตั้ง [Disable]
E4000 ตั้ง [Disable]
E8000 ตั้ง [Disable]
EC000 ใช้กับการ์ด controller ชนิด SCSI [หากไม่ได้ใช้ตั้ง Disable]
System ROM การทำ Shadow กับ ROM ของ BIOS ที่ F000 [Enabled]

Chipset Features Setup

Auto Configuration คือให้ BIOS จัดการค่าต่างๆโดยอัตโนมัติซึ่งจะเป็นค่ากลาง ๆ
Hidden Refresh การเติมประจุไฟของ DRAM [Enabled]
Slow Refresh ให้ DRAM ลดความถี่ในการเติมประจุไฟลง 2 - 4 เท่า [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
Concurrent Refresh การอ่าน-เขียนข้อมูล ได้พร้อมๆกับการเติมประจุไฟใน DRAM [Enabled]
Burst Refresh การเติมประจุไฟลง DRAM ได้หลายๆ รอบในการทำงานครั้งเดียว [Enabled]
DRAM Brust at 4 Refresh จำนวนการ Burst Refresh เป็น 4 รอบในการทำงาน 1ครั้ง [Enabled]
Staggered Refresh การเติมประจุล่วงหน้าใน DRAM ใน Bank ถัดไปด้วย [Enabled]
Refresh RAS Active Time ให้ทดลองกำหนดค่าน้อยที่สุดเท่าที่เครื่องจะสามารถทำงานได้
AT Cycle Wait State เวลาที่รอให้การ์ด ISA พร้อม ให้ตั้งค่าที่น้อยสุดเท่าที่เครื่องทำงานได้
16-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
8-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ให้ตั้งน้อยสุดที่ทำงานได้
DMA Clock Source กำหนดความเร็วของอุปกรณ์ DMA โดยมีค่าปกติคือ 5 MHz
Memory Remapping หากเปิดการทำงานนี้ไว้จะทำ Shadows กับ BIOS ใดๆ ไม่ได้ [Disable]
Cache Read Hit Burst หรือ
SRAM Read Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Cache Write Hit Burst หรือ
SRAM Write Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Fast Cache Read / Write ให้แคชทำงานโหมดความเร็วสูง จะมีผลเมื่อแคชมีขนาด 64 KB หรือ 256 KB
Tag Ram Includes Ditry ให้แคชทำงานในโหมดเขียนทับโดยไม่ต้องย้าย/ลบข้อมูลเดิมออกก่อน
หากมี Ram น้อยกว่า 256 MB ควรใช้ Dirty Bit
Non-Cacheable Block-1 Size กำหนดขนาดหน่วยความจำที่ห้ามทำแคช [OK หรือ Disabled]
RAS to CAS Delay Time ค่าหน่วงเวลาก่อนที่จะสลับการทำงาน RAS-CAS ตั้งค่าน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
CAS Before RAS การสลับลำดับการทำงานระหว่าง RAS และ CAS
CAS Width in Read Cycle กำหนดค่าหน่วงเวลาก่อนที่ซีพียูจะเริ่มอ่านข้อมูลใน DRAM ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
Interleave Mode ให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจาก DRAM ในโหมด Interleave
Fast Page Mode DRAM ให้หน่วยความจำทำงานแบบ FPM โดยไม่ต้องอาศัย RAS และ CAS ซึ่งจะเร็วกว่า
SDRAM CAS Latency Time หรือ
SDRAM Cycle Length ระยะรอบการทำงานของ CAS latency ใน SDRAM ตั้งค่าน้อยที่สุด
หรือใช้ค่า 2 กับ RAM ชนิด PC100 และใช้ค่า 3 กับ RAM ชนิด PC66/83
Read Around Write กำหนดให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ในคราวเดียวกัน [Enabled]
DRAM Data Integrity Mode เลือก Non-ECC หรือ ECC ตามขนิดของ SDRAM System BIOS
Cacheable การทำแคชของ System BIOS ROM #F0000-FFFFF [Enabled]
Video BIOS Cacheable การทำแคชของ Video BIOS ROM [Enabled]
Video RAM Cacheable การทำแคชของ Video RAM #A0000-AFFFF [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
Memory Hole at 15M-16M การจองพื้นที่สำหรับ ISA Adapter ROM [Enabled]
Passive Release กำหนด CPU to PCI bus accesses ช่วง passive release [Enabled]
Delayed Transaction เลือก Enable สำหรับ PCI version 2.1
AGP Aperture Size (MB) กำหนดขนาดของ AGP Aperture กำหนดเป็นครึ่งหนึ่งของ RAM ทั้งหมด

Power Management

Max Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ สูงสุด
User Define กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ตั้งค่าเอง
Min Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ต่ำสุด
PM Control by APM กำหนดให้ควบคุมการประหยัดพลังงานผ่านทางซอฟท์แวร์
APM Video Off Method กำหนดวิธีการปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
V/H SYNC + Blank จะปิดการทำงาน V/H SYNC และดับจอภาพด้วย Blank Screen
DPMS สำหรับการ์ดแสดงผลและจอภาพที่สนับสนุนโหมด DPMS
Blank Screen จะทำการแสดงหน้าจอว่าง ๆ เมื่อประหยัดพลังงาน สำหรับจอรุ่นเก่า ๆ
Video Off After ให้ปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบ Stanby หรือ Suspend
Standby Mode กำหนดระยะเวลาเมื่อพบว่าไม่มีการใช้งาน จะหยุดทำงานของอุปกรณ์บางส่วน
Supend Mode จะตัดการทำงานบางส่วนคล้าย Standby Mode แต่หยุดอุปกรณ์ที่มากกว่า
HDD Power Down กำหนดระยะเวลาก่อนที่ BIOS จะหยุดการทำงานของ HDD
Resume by Ring เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
Resume by Alarm เมื่อ Enabled สามารถตั้งเวลาทำงานจาก Suspend Mode ได้
Wake Up On LAN เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้


Integrated Peripherals

IDE HDD BLOCKS MODE ให้ HDD อ่าน-เขียนข้อมูลได้ครั้งละหลาย Sector พร้อมกัน [Enabled]
IDE PIO Mode... กำหนดการทำงานแบบ Programe Input/Output [ตั้งสูงสุดหรือ Auto]
IDE UDMA... กำหนดการทำงานแบบ DMA หรือ UDMA [Enabled หรือ Auto]
On-Chip PCI IDE กำหนดการใช้ช่องเสียบ HDD IDE ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
USB Keyboard Support กำหนดให้ใช้ Keyboard แบบ USB [Enabled]
Onboard FDC Controller กำหนดให้ใช้ช่องเสียบ Disk Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
Onboard Serial Port 1 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM1 ค่าปกติคือ 3F8/IRQ4
Onboard Serial Port 2 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM2 ค่าปกติคือ 2F8/IRQ3
Parallel Port Mode กำหนดโหมดการทำงานของพอร์ตขนานได้ใน 3 แบบ [EPP&ECP]
SPP (Standard Parallel Port) คือโหมดมาตรฐานเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ
EPP (Enhanced Parallel Port) คือโหมด 2 ทิศทางเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่
ECP (Extended Capabilities Port) คือโหมดความเร็วสูง เมื่อต่อพ่วงกับ Scanner, Laplink ฯลฯ
ECP MODE USE DMA คือกำหนด DMA สำหรับ Port ขนานแบบ ECP ซึ่งค่าปกติคือ 3


IDE HDD Auto Detection
สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถ ค้นหา ฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง


การตั้งค่าอื่น ๆ
Load BIOS Default Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เป็นแบบกลาง ๆ สำหรับอุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป หรือเป็นการตั้งค่าแบบ Factory Setup ก็ได้
Load BIOS Optimize Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
Password Setting
ใช้สำหรับการตั้ง Password เมื่อต้องการจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS หรือเมื่อต้องการจะเปิด เครื่อง โดยปกติเมื่อใส่ Password ระบบจะให้ใส่ Confirm ซ้ำ 2 รอบเพื่อป้องกันการใส่ผิดพลาด (ไม่ใส่อะไรเลย คือการยกเลิก password)
HDD Low Level Format
เป็นเมนูสำหรับทำ Low Level Format ของ Hard Disk ซึ่งใช้สำหรับทำการ Format Hard Disk แบบระดับต่ำสุด ซึ่งถ้าหากไม่มีปัญหาอะไรกับ Hard Disk ก็ไม่จำเป็นต้องทำ
Exit with Save Setting หรือ Exit without Save Setting
เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS แล้วต้องทำการ Save เก็บไว้ด้วยนะครับ ส่วนใหญ่ เมื่อทำการ Save แล้วจะบูทเครื่องใหม่ ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้จึงจะใช้งานได้
CPU Setup
นอกจากนี้ ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Jumper Free (ไม่ใช้ Jumper แต่จะใช้เมนูใน BIOS สำหรับตั้งค่า ต่าง ๆ ) จะสามารถตั้งค่าของความเร็ว CPU, ค่า multiple หรือ FSB, ค่าไฟ Vcore และอื่น ๆ อีกแล้วแต่รุ่นของ เมนบอร์ดนั้น ๆ

การ Set Bios

ระบบปฏิบัติการ os

 

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

software


ซอฟต์แวร์ (software)
software_meaningหมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์  ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง


ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ภาษาเครื่องนั้น เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และสามารถติดต่อได้โดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นระบบรหัส หรือที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ซึ่งเริ่มใกล้เคียงภาษามนุษย์มากขึ้น เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ เป็นภาษาที่ค่อนข้างจะสมัยใหม่ เช่น ภาษา C# ภาษาจาวา เป็นต้น
ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษา เครื่อง ดังนั้น จึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)


คอมไพเลอร์ (compiler)
หรือ โปรแกรมแปลโปรแกรม, ตัวแปลโปรแกรม เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้ง โปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น ขึ้นตอนการทำงานหลัก ๆ ของคอมไพเลอร์ ซึ่งในปัจจุบัน คอมไพเลอร์สมัยใหม่ อาจมีขั้นตอนมากกว่า และมีเทคนิคเพิ่มเติมขึ้นมาก ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ จะไม่บอกรายละเอียดการทำงาน เนื่องจากเป็นความลับของแต่ละผลิตภัณฑ์ของตน
ในปัจจุบันนี้มีภาษาจาวา (Java) , ดอดเน็ต (.NET FramWork) การคอมไพล์ได้เปลี่ยนไปเป็นการแปลเป็นภาษาเป้าหมาย และหากเป็นจาวา ก็ใช้ จาวาวิชวลเมอฃีน (Java Visual Machine : JVM) หรือหากเป็น ดอดเน็ต จะใช้ (Just In Time :JIT Compiler) เพื่อแปลไปเป็นภาษาเครื่อง ตามแต่สภาวะแวดล้อมของเครื่อง (Environment) ในขณะนั้น เพื่อทำงานต่อไป
ตัวแปลโปรแกรมส่วนใหญ่ จะทำการแปล รหัสต้นแบบ (source code) ที่เขียนในภาษาระดับสูง เป็น ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำงานได้โดยตรง. อย่างไรก็ตาม การแปลจากภาษาระดับต่ำเป็นภาษาระดับสูง ก็เป็นไปได้ โดยใช้ตัวแปลโปรแกรมย้อนกลับ (decompiler)

ขั้นตอนการทำงานของตัวแปลโปรแกรม

ผลลัพธ์ของการแปลโปรแกรม (คอมไพล์) โดยทั่วไป ที่เรียกว่า ออบเจกต์โค้ด จะประกอบด้วยภาษาเครื่อง (Machine code)ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อและ สถานที่ของแต่ละจุด และการเรียกใช้วัตถุภายนอก (Link object)(สำหรับ ฟังก์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน อ็อบเจกต์) สำหรับเครื่องมือที่เราใช้รวม อ็อบเจกต์เข้าด้วยกัน จะเรียกว่าโปรแกรมเชื่อมโยงเพื่อที่ผลลัพธ์ที่ออกมาในขั้นสุดท้าย เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวก
ตัวแปลภาษาตัวที่สมบูรณ์ตัวแรก คือ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ของ ไอบีเอ็ม ในปี ค.ศ. 1957 และ ภาษาโคบอล (COBOL) ก็เป็นตัวแปลภาษาตัวแรก ๆ ที่สามารถทำงานได้บนหลาย ๆ สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์. การพัฒนาตัวแปลภาษารุดหน้าอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อมา ในช่วงทศวรรษ 1960

การแปลโปรแกรม

กระบวน การแปลโปรแกรมแบบอ่านทีเดียวแล้วแปล เครื่องมือที่ใช้แปลโปรแกรมเรียกว่าตัวแปลโปรแกรม การทำงานเริ่มจากตัวแปลโปรแกรมจะอ่านซอร์สโค้ด ของภาษานั้นๆ แล้วเริ่มตรวจสอบความผิดพลาด ถ้าพบก็จะแปลโปรแกรมไม่ผ่านและให้ผู้ใช้แก้ไขซอร์สโค้ดก่อน เมื่อคอมไพล์ผ่าน ตัวแปลโปรแกรมก็จะสร้าง ไฟล์วัตถุ (.obj บนดอส และ .o บนลินุกซ์) ขึ้นมา แล้วตัวแปลโปรแกรมจะทำการเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลวัตถุเข้ากับซอร์สโค้ด และสร้างไฟล์เอ็กซ์คิวต์ (.exe บนดอส) ขึ้นมา

อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
หรือ โปรแกรมแปลคำสั่ง, ตัวแปลคำสั่ง, หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานตาม ชุดคำสั่งที่เขียนไว้ทันที ซึ่งจะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
โดยทั่วไปแล้วการทำงานของโปรแกรมผ่านโปรแกรมแปลคำสั่งจะช้ากว่าทำงาน จากโปรแกรมที่ผ่านการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องแล้ว เพราะโปรแกรมแปลคำสั่งจะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำ อะไรต่อไป

ตัวอย่างภาษาที่มีการใช้โปรแกรมแปลคำสั่ง เช่น ภาษาเบสิก, ภาษาเพิร์ล, ภาษาพีเอชพี

ภาษาเบสิก (BASIC programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เบสิกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้าน
ชื่อภาษาเบสิก หรือ BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
บริษัทไมโครซอฟท์ได้นำภาษาเบสิกมาปรับปรุงให้ทันสมัย และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม Visual Basic ทำให้เบสิกได้รับความนิยมในการพัฒนาโปรแกรมยุคใหม่ รุ่นล่าสุดของวิชวลเบสิกเรียกว่า VB.NET
ภาษาเพิร์ล หรือ Perl (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่าง มาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007)
ภาษาพีเอชพี (PHP)
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
ภาษาพีเอชพี ในชื่อภาษาอังกฤษว่า PHP ซึ่งใช้เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ จากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page
ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม

ชนิดของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับ คอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท เช่น
  • + ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ
  • + ซอฟต์แวร์ที่มีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพ (graphics) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (word processing) ซอฟต์แวร์ตารางจัดการ (spread sheet)
  • + ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิต
  • + ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน

หากแบ่งแยกประเภทของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) < คลิ๊กเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) < คลิ๊กเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ฮาร์ดแวร์คืออะไร

ฮาร์ดแวร์คืออะไร

             ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
 
            1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
                    1.1 Power Supply
                    1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
                                1.2.1 CPU
                                1.2.2 RAM
                                1.2.3 Expansion Slots
                                1.2.4 Ports
                    1.3 Hard Disk
                    1.4 Floppy Disk Drive
                    1.5 CD-ROM Drive
                    1.6 DVD-ROM Drive
                    1.7 Sound Card
                    1.8 Network Card
            2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
                    2.1 Keyboard
                    2.2 Monitor
                    2.3 Mouse
                    2.4 Printer
                    2.5 Scanner
                    2.6 Digital Camera
                    2.7 Modem
                    2.8 UPS

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ภายนอก



อุปกรณ์พื้นฐาน
สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประกอบด้วย
ส่วนอุปกรณ์ หมายถึง ชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น
2.2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)
2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)
2.3 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
2.3.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ แป้นอักขระ (Character Keys) แป้นควบคุม (Control Keys) แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
2.3.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
2.3.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)
2.3.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
2.3.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
2.3.6 .อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)
2.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.4.1.หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง
2.4.2 หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ
2.5 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2.6 ส่วนประกอบอื่น ๆ
2.6.1 แผงวงจรหลัก (Main Board)
2.6.2 ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Inteface)
2.6.3 อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC-Card)
2.6.4 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data communication device)
2.6.5 ยูพีเอส (UPS)

ความหมายของอุปกรณ์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

   1. จอภาพ (Monitor)

    เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

    - จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ


จอแบบ CRT

    การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron

    ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย


    - จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที 


จอแบบ LCD

    การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน


2. เคส (Case)

     เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น


 
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
     เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ


4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก



5. เมาส์ (Mouse)

     อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด




6. เมนบอร์ด (Main board)
     แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด


 
7. ซีพียู (CPU)

     ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้

     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon



 


8. การ์ดแสดงผล (Display Card)

     การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

Display Card

     หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร


9. แรม (RAM)

     RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที





     โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM


10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน


     - IDE (Integrated Drive Electronics)
     เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด




     - SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง



 



     - Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน

 



11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
     เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk


 


     การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น


12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
     เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
 



     ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น